รู้จัก HIV กับ เอดส์ มันต่างกันอย่างไร….?
HIV ไม่ใช่โรค แต่เป็นเชื้อไวรัส ซึ่งย่อมาจากคำว่า human immunodeficiency virus ผู้มีเชื้อ HIV จะไม่ใช่ผู้ป่วย เพราะยังไม่มีอาการแสดงใด ๆ ที่สัมพันธ์กับเอดส์ ในช่วง 2 – 3 สัปดาห์หลังรับเชื้อ ร่างกายอาจมีอาการคล้ายไข้หวัด เจ็บคอ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต จากนั้นจะหายไปเอง ส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าตนเองติดเชื้อ นี่คือระยะที่ 1 หรือ ระยะไม่มีอาการ ผู้ที่อยู่ในระยะนี้ เรียกว่า ผู้มีเชื้อ HIV หรือ ผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV
โรคเอดส์เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ HIV เอชไอวี หรือ acquired immune deficiency syndrome คือกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ HIV ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกเชื้อไวรัสทำลายจนร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคทั้งหลายที่เข้าสู่ร่างกายได้
ดังนั้นโรคเอดส์ และ HIV ไม่ใช่โรคเดียวกันเพียงแต่มีความเกี่ยวเนื่องกันทางอาการเท่านั้น
การติดเชื้อเอชไอวี 3 ระยะ
ระยะเฉียบพลัน เป็นระยะแรกหลังรับเชื้อประมาณ 2-4 สัปดาห์ หลังจากติดเชื้อ ในระยะนี้ผู้ติดเชื้อจำนวนมากจะเริ่มมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีผื่นและปวดหัว
ระยะอาการ ระยะนี้เชื้อยังคงอยู่ในร่างกายแต่มักไม่แสดงอาการ อย่างไรก็ตามในระยะนี้ยังสามารถแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ด้วย
ระยะเอดส์ เป็นระยะที่การติดเชื้อเอชไอวีได้พัฒนาเป็นโรคเอดส์ กว่าจะถึงระยะนี้ได้แสดงว่าผู้ป่วยไม่เคยได้รับการระงับการแพร่กระจายของไวรัสในร่างกายเลย ในระยะนี้ผู้ป่วยจะสูญเสียภูมิคุ้มกันโรคและจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้นและรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
หมายความว่าเราจะไม่สามารถเป็นโรคเอดส์ได้เลยถ้าเราไม่ได้รับเชื่อ HIV เข้าสู่ร่างกาย หรือเมื่อได้รับเชื้อแล้วผู้ติดเชื้อเอชไอวีอาจไม่พัฒนาอาการจนเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์เต็มขั้น
การติดเชื้อเอชไอวี
คนสามารถติดเชื้อเอชไอวีโดยการสัมผัสกับเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอด หรือแม้แต่น้ำนมแม่ สาเหตุการแพร่เชื้อส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือส่งผ่านจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คนควรมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย โดยการใช้ถุงยางอนามัยและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเข็มฉีดยาที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรค ไม่ว่าจะระหว่างการไปพบแพทย์หรือการใช้เพื่อนันทนาการ
ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรดูแลตนเองอย่างไรไม่ให้ไปสู่ภาวะเอดส์ ?
บอกคนรอบข้างว่าตนเองเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะทั้งตนเองและคนรอบข้างจะได้เตรียมรับมือและปฏิบัติตัวตามข้อควรระวังหรือขั้นตอนต่าง ๆ ในการดูแลและอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อได้อย่างเหมาะสมปลอดภัย
รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้เคร่งครัดตรงเวลา
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ พืชตระกูลถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี และแหล่งโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เป็นต้น เพราะการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อาจช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรง เป็นผลดีต่อการรักษาด้วยยา ลดความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงและอาการต่าง ๆ ของโรค ซึ่งช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับโรคได้ดียิ่งขึ้นด้วย
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม นอกจากการออกกำลังกายจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง ส่งเสริมสุขภาพจิตและบุคลิกภาพที่ดีแล้ว ยังมีงานวิจัยที่พบว่าการออกกำลังกายอาจช่วยกระตุ้นให้ระบบการเผาผลาญอาหารของผู้ติดเชื้อเอชไอวีทำงานได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
ดูแลสุขภาพจิต เป็นเรื่องปกติที่ผู้ป่วยจะรู้สึกเครียด ซึมเศร้า และวิตกกังวลเป็นอย่างมากหลังจากทราบว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งผู้ป่วยอาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เช่น จิตแพทย์
ลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ผู้อื่น เชื้อเอชไอวีสามารถแพร่กระจายผ่านทางของเหลวต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำ เป็นต้น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ให้คู่นอนไปตรวจเลือด และผู้ป่วยต้องรับประทานยาต้านเชื้อเอชไอวีอยู่เสมอ
ข้อมูลและภาพจาก : ไอยราไบโอเทค , pobpad.com , mplusthailand.com , bumrungrad.com
รู้จัก HIV กับ เอดส์ มันต่างกันอย่างไร….?
HIV ไม่ใช่โรค แต่เป็นเชื้อไวรัส ซึ่งย่อมาจากคำว่า human immunodeficiency virus ผู้มีเชื้อ HIV จะไม่ใช่ผู้ป่วย เพราะยังไม่มีอาการแสดงใด ๆ ที่สัมพันธ์กับเอดส์ ในช่วง 2 – 3 สัปดาห์หลังรับเชื้อ ร่างกายอาจมีอาการคล้ายไข้หวัด เจ็บคอ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต จากนั้นจะหายไปเอง ส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าตนเองติดเชื้อ นี่คือระยะที่ 1 หรือ ระยะไม่มีอาการ ผู้ที่อยู่ในระยะนี้ เรียกว่า ผู้มีเชื้อ HIV หรือ ผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV
โรคเอดส์เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ HIV เอชไอวี หรือ acquired immune deficiency syndrome คือกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ HIV ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกเชื้อไวรัสทำลายจนร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคทั้งหลายที่เข้าสู่ร่างกายได้
ดังนั้นโรคเอดส์ และ HIV ไม่ใช่โรคเดียวกันเพียงแต่มีความเกี่ยวเนื่องกันทางอาการเท่านั้น
การติดเชื้อเอชไอวี 3 ระยะ
ระยะเฉียบพลัน เป็นระยะแรกหลังรับเชื้อประมาณ 2-4 สัปดาห์ หลังจากติดเชื้อ ในระยะนี้ผู้ติดเชื้อจำนวนมากจะเริ่มมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีผื่นและปวดหัว
ระยะอาการ ระยะนี้เชื้อยังคงอยู่ในร่างกายแต่มักไม่แสดงอาการ อย่างไรก็ตามในระยะนี้ยังสามารถแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ด้วย
ระยะเอดส์ เป็นระยะที่การติดเชื้อเอชไอวีได้พัฒนาเป็นโรคเอดส์ กว่าจะถึงระยะนี้ได้แสดงว่าผู้ป่วยไม่เคยได้รับการระงับการแพร่กระจายของไวรัสในร่างกายเลย ในระยะนี้ผู้ป่วยจะสูญเสียภูมิคุ้มกันโรคและจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้นและรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
หมายความว่าเราจะไม่สามารถเป็นโรคเอดส์ได้เลยถ้าเราไม่ได้รับเชื่อ HIV เข้าสู่ร่างกาย หรือเมื่อได้รับเชื้อแล้วผู้ติดเชื้อเอชไอวีอาจไม่พัฒนาอาการจนเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์เต็มขั้น
การติดเชื้อเอชไอวี
คนสามารถติดเชื้อเอชไอวีโดยการสัมผัสกับเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอด หรือแม้แต่น้ำนมแม่ สาเหตุการแพร่เชื้อส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือส่งผ่านจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คนควรมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย โดยการใช้ถุงยางอนามัยและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเข็มฉีดยาที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรค ไม่ว่าจะระหว่างการไปพบแพทย์หรือการใช้เพื่อนันทนาการ
ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรดูแลตนเองอย่างไรไม่ให้ไปสู่ภาวะเอดส์ ?
บอกคนรอบข้างว่าตนเองเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะทั้งตนเองและคนรอบข้างจะได้เตรียมรับมือและปฏิบัติตัวตามข้อควรระวังหรือขั้นตอนต่าง ๆ ในการดูแลและอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อได้อย่างเหมาะสมปลอดภัย
รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้เคร่งครัดตรงเวลา
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ พืชตระกูลถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี และแหล่งโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เป็นต้น เพราะการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อาจช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรง เป็นผลดีต่อการรักษาด้วยยา ลดความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงและอาการต่าง ๆ ของโรค ซึ่งช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับโรคได้ดียิ่งขึ้นด้วย
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม นอกจากการออกกำลังกายจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง ส่งเสริมสุขภาพจิตและบุคลิกภาพที่ดีแล้ว ยังมีงานวิจัยที่พบว่าการออกกำลังกายอาจช่วยกระตุ้นให้ระบบการเผาผลาญอาหารของผู้ติดเชื้อเอชไอวีทำงานได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
ดูแลสุขภาพจิต เป็นเรื่องปกติที่ผู้ป่วยจะรู้สึกเครียด ซึมเศร้า และวิตกกังวลเป็นอย่างมากหลังจากทราบว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งผู้ป่วยอาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เช่น จิตแพทย์
ลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ผู้อื่น เชื้อเอชไอวีสามารถแพร่กระจายผ่านทางของเหลวต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำ เป็นต้น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ให้คู่นอนไปตรวจเลือด และผู้ป่วยต้องรับประทานยาต้านเชื้อเอชไอวีอยู่เสมอ
ข้อมูลและภาพจาก : ไอยราไบโอเทค , pobpad.com , mplusthailand.com , bumrungrad.com
รู้จัก HIV กับ เอดส์ มันต่างกันอย่างไร….?
HIV ไม่ใช่โรค แต่เป็นเชื้อไวรัส ซึ่งย่อมาจากคำว่า human immunodeficiency virus ผู้มีเชื้อ HIV จะไม่ใช่ผู้ป่วย เพราะยังไม่มีอาการแสดงใด ๆ ที่สัมพันธ์กับเอดส์ ในช่วง 2 – 3 สัปดาห์หลังรับเชื้อ ร่างกายอาจมีอาการคล้ายไข้หวัด เจ็บคอ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต จากนั้นจะหายไปเอง ส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าตนเองติดเชื้อ นี่คือระยะที่ 1 หรือ ระยะไม่มีอาการ ผู้ที่อยู่ในระยะนี้ เรียกว่า ผู้มีเชื้อ HIV หรือ ผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV
โรคเอดส์เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ HIV เอชไอวี หรือ acquired immune deficiency syndrome คือกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ HIV ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกเชื้อไวรัสทำลายจนร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคทั้งหลายที่เข้าสู่ร่างกายได้
ดังนั้นโรคเอดส์ และ HIV ไม่ใช่โรคเดียวกันเพียงแต่มีความเกี่ยวเนื่องกันทางอาการเท่านั้น
การติดเชื้อเอชไอวี 3 ระยะ
ระยะเฉียบพลัน เป็นระยะแรกหลังรับเชื้อประมาณ 2-4 สัปดาห์ หลังจากติดเชื้อ ในระยะนี้ผู้ติดเชื้อจำนวนมากจะเริ่มมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีผื่นและปวดหัว
ระยะอาการ ระยะนี้เชื้อยังคงอยู่ในร่างกายแต่มักไม่แสดงอาการ อย่างไรก็ตามในระยะนี้ยังสามารถแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ด้วย
ระยะเอดส์ เป็นระยะที่การติดเชื้อเอชไอวีได้พัฒนาเป็นโรคเอดส์ กว่าจะถึงระยะนี้ได้แสดงว่าผู้ป่วยไม่เคยได้รับการระงับการแพร่กระจายของไวรัสในร่างกายเลย ในระยะนี้ผู้ป่วยจะสูญเสียภูมิคุ้มกันโรคและจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้นและรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
หมายความว่าเราจะไม่สามารถเป็นโรคเอดส์ได้เลยถ้าเราไม่ได้รับเชื่อ HIV เข้าสู่ร่างกาย หรือเมื่อได้รับเชื้อแล้วผู้ติดเชื้อเอชไอวีอาจไม่พัฒนาอาการจนเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์เต็มขั้น
การติดเชื้อเอชไอวี
คนสามารถติดเชื้อเอชไอวีโดยการสัมผัสกับเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอด หรือแม้แต่น้ำนมแม่ สาเหตุการแพร่เชื้อส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือส่งผ่านจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คนควรมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย โดยการใช้ถุงยางอนามัยและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเข็มฉีดยาที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรค ไม่ว่าจะระหว่างการไปพบแพทย์หรือการใช้เพื่อนันทนาการ
ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรดูแลตนเองอย่างไรไม่ให้ไปสู่ภาวะเอดส์ ?
บอกคนรอบข้างว่าตนเองเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะทั้งตนเองและคนรอบข้างจะได้เตรียมรับมือและปฏิบัติตัวตามข้อควรระวังหรือขั้นตอนต่าง ๆ ในการดูแลและอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อได้อย่างเหมาะสมปลอดภัย
รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้เคร่งครัดตรงเวลา
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ พืชตระกูลถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี และแหล่งโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เป็นต้น เพราะการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อาจช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรง เป็นผลดีต่อการรักษาด้วยยา ลดความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงและอาการต่าง ๆ ของโรค ซึ่งช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับโรคได้ดียิ่งขึ้นด้วย
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม นอกจากการออกกำลังกายจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง ส่งเสริมสุขภาพจิตและบุคลิกภาพที่ดีแล้ว ยังมีงานวิจัยที่พบว่าการออกกำลังกายอาจช่วยกระตุ้นให้ระบบการเผาผลาญอาหารของผู้ติดเชื้อเอชไอวีทำงานได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
ดูแลสุขภาพจิต เป็นเรื่องปกติที่ผู้ป่วยจะรู้สึกเครียด ซึมเศร้า และวิตกกังวลเป็นอย่างมากหลังจากทราบว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งผู้ป่วยอาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เช่น จิตแพทย์
ลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ผู้อื่น เชื้อเอชไอวีสามารถแพร่กระจายผ่านทางของเหลวต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำ เป็นต้น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ให้คู่นอนไปตรวจเลือด และผู้ป่วยต้องรับประทานยาต้านเชื้อเอชไอวีอยู่เสมอ
ข้อมูลและภาพจาก : ไอยราไบโอเทค , pobpad.com , mplusthailand.com , bumrungrad.com